ในยุคที่ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงยิ่งต้องถีบตัวเองและแข่งขันกันอย่างเต็มที่เพื่อทำให้ภาพยนตร์นั้น ๆ ออกมาตระการตามากที่สุด ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมไปถึงภาพยนตร์ที่เพิ่งเข้าฉายไปไม่นานมานี้และได้ผลตอบรับดีสุด ๆ อย่างเรื่อง Spider-Man: Far From Home โดยเนื้อเรื่องในภาคนี้ สไปเดอร์แมนได้เดินทางไปทัศนศึกษาที่เวนิส ปราก เบอร์ลิน และลอนดอน แน่นอนว่าแต่ละสถานที่ก็มีฉากต่อสู้ที่อลังการแตกต่างกันไป ซึ่งการสร้างวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ (VFX) ที่สมจริงคือการบ้านที่ทำให้ Luma Pictures ต้องคิดหนัก โดยก่อนหน้านี้ระบบเดิมที่พวกเขาใช้คือ on-premises ซึ่งมี data center อยู่ที่ Los Angeles แต่ปัญหาก็คือการจะเรนเดอร์ภาพยนตร์ที่มี VFX ที่อลังการงานสร้างตามที่พวกเขาต้องการนั้น ลำพังแค่ระบบ on-premises ธรรมดาไม่น่าจะรับไหว นี่เลยทำให้พวกเขาตัดสินใจออกจาก comfort zone ของตัวเอง โดยเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี Google Cloud แทน และนี่คือที่มาที่ทำให้ตัวร้ายอย่าง Cyclone และ Molten Man ที่มีรูปร่างเป็นลมและไฟถูกสร้างขึ้นอย่างสมจริง
ภาพจาก: Luma Pictures
ไมเคิล เพอร์ดิวซึ่งเป็น VFX producer ของ Luma Pictures ได้กล่าวไว้ว่า “มันสุดยอดมาก” ในตอนแรกนั้น Luma ไม่เคยคิดว่าการย้ายขึ้น cloud จะเหมาะเจาะกับสไปเดอร์แมนภาคล่าสุดขนาดนี้ แถมเขายังได้กล่าวอีกว่า “ปัญหาใหญ่ที่เราเจอ คือ ตัวละครเหล่านี้เป็น simulations” ซึ่งโดยปกติแล้วการสร้างตัวละครที่เป็น simulations จะต้องใช้ทั้ง CPU, banwidth และเนื้อที่ disk เยอะมาก ๆ เพื่อให้เพียงพอในการเรนเดอร์ภาพยนตร์ พูดง่าย ๆ ก็คือสิ่งเหล่านี้ทำให้ทั้งเสียเวลาและเสียเงินเยอะ รวมถึงการที่เราจะซิงค์ข้อมูลที่มีจำนวนหลาย terabytes จากระบบ on-premises ขึ้นไปยังระบบ cloud นั้นต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหากเรามี bandwidth ที่จำกัด ยิ่งไปกว่านั้น Luma เองก็ไม่ได้มีระบบกักเก็บไฟล์ที่สามารถรองรับข้อมูลที่มหาศาลขนาดนั้นเพื่อเรนเดอร์ได้
ภาพจาก: Luma Pictures
สุดท้ายพวกเขาก็คิดขึ้นมาได้ว่าระบบ Cloud น่าจะเป็นอะไรที่ตอบโจทย์มาก ๆ สำหรับงานนี้ โดยเฉพาะในการสร้างตัวละคร Cyclone นั่นจึงเป็นเหตุผลที่พวกเขาเลือกใช้ Compute Engine ของ Google ในการปรับปรุงรูปภาพด้วย 96-cores และแรม 128 GB รวมไปถึงการนำมาจับคู่กับระบบ ZFS file system ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งรองรับได้ถึง 15,000 vCPUs ทำให้ Luma สามารถเรนเดอร์ฉากที่มีสัตว์ประหลาดที่เกิดจากเมฆได้อย่างสมจริงโดยใช้เวลาเพียงแค่ประมาณ 90 นาทีเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบกับระบบเดิมที่พวกเขาใช้ที่กินเวลาถึงประมาณ 7-8 ชั่วโมงในการเรนเดอร์ ก็ถือว่านี่เป็นการประหยัดเวลาไปได้เยอะเลยทีเดียว
นอกเหนือจากการสร้างตัวละครอย่าง Cyclone และ Molten Man แล้ว Luma ยังได้ใช้เทคโนโลยี Google Cloud มาออกแบบชุด Spider-Man Night Monkey และใช้ CG สร้างสภาพแวดล้อมสำหรับ Liberec Square ในฉากที่สไปเดอร์แมนต่อสู้กับ Molten Man รวมไปถึงฉากที่สไปเดอร์แมนทำลายภาพลวงที่ Mysterio สร้างขึ้นอีกด้วย
ภาพจาก: Luma Pictures
แม้ว่าการสร้างภาพยนตร์ Spider-Man จะจบลงแล้ว แต่ Luma ก็ยังเห็นประโยชน์จากการใช้ฟีเจอร์อื่น ๆ ของ Google Cloud Platform อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นการนำ Google Kubernetes Engine (GKE) มาใช้แทน Kubernetes cluster บนระบบ on-premises ในการรันเครื่องมือที่ Luma สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือตอนนี้ Luma ตัดสินใจที่จะติดตั้ง connection โดยตรงไปที่ Google Cloud Los Angeles cloud region เพื่องาน productions และ bandwidth ที่มากขึ้น รวมไปถึงการลด latency บน Google Cloud ในอนาคต
นี่เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันได้ว่าเทคโนโลยี Google Cloud เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถนำมาใช้งานกับวงการบันเทิงได้อย่างยอดเยี่ยม ถ้าถามว่ายอดเยี่ยมขนาดไหน ก็ขนาดที่ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง Spider-Man: Far From Home ยังเลือกใช้ไงล่ะ แต่จริง ๆ แล้ว Google Cloud สามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมที่ต่างกันไป หากคุณยังลังเลหรือไม่แน่ใจว่า Google Cloud จะเหมาะกับธุรกิจของคุณ หรือคุณจะสามารถนำ Google Cloud มาใช้ได้ไหมและอย่างไร ลองปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ GoPomelo ดูก่อนโดยคลิกปุ่มติดต่อเราด้านล่างได้เลย
บทความต้นฉบับโดย: Todd Prives - Product Manager, Cloud Rendering https://cloud.google.com/blog/products/compute/luma-pictures-render-spider-man-far-from-home-on-google-cloud